วันศุกร์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2559

สรุปบทความเกี่ยวกับคณิตศาสตร์

บทความ เด็กๆควรใช้นิ้วมือในการนับเลขหรือไม่

          เด็กส่วนใหญ่เรียนรู้การนับโดยการใช้นิ้ว แต่เมื่อเริ่มโตขึ้นการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์จะเป็นนามธรรมที่ยากขึ้น จึงทำให้การชูนิ้วมือขึ้นมานับกลายเป็นเรื่องหลายคนคิดว่ายุ่งยาก และซับซ้อน บางคนถือว่าเป็นเรื่องที่น่าอาย และดูเหมือนเป็นวิธีการคิดที่ไม่ฉลาดเท่าไหร่ 
          ศาสตราจารย์ท่านหนึ่ง จากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดได้เขียนเกี่ยวกับเรื่องประโยชน์ของการใช้นิ้วมือกับระบบประสาท ซึ่งส่งผลต่อการสร้างความคิดที่ก้าวไกลในเรื่องของคณิตศาสตร์
          จากผลการวิจัยพบว่า การที่ไม่ให้เด็กใช้นิ้วมือในการนับ ในขณะที่เด็กอยู่ในวัยที่สามารถจะนับได้ ทำให้สมองมีความล่าช้าทางคณิตศาสตร์ได้ นิ้วมือเป็นเหมือนเครื่องมือที่มองเห็นได้ การใช้ประโยชน์จากนิ้วมือได้ชัดเจนจากนักดนตรี หรือผู้ที่ใช้ความสามารถในการใช้นิ้วมือ ว่า ส่วนใหญ่มีความสามารถทางด้านคณิตศาสตร์สูงมากกว่าคนที่ไม่ได้เรียนรู้ทางด้านการเล่นเครื่องดนตรี
          ได้มีการพัฒนางานวิจัย พบว่าการมีพื้นฐานความคิด และความเข้าใจทางด้านคณิตศาสตร์ซึ่งเป็นภาพเข้าไปสู่สมองโดยการนับนิ้วมือจะช่วยทำให้เด็กๆ ง่ายต่อความเข้าใจทางด้านคณิตศาสตร์ และรักในวิชาคณิตศาสตร์เพิ่มมากขึ้นด้วย
         นักวิเคราะห์ทางสมอง ได้กล่าวว่า การใช้นิ้วมือในการนับเป็นการใช้ประสาทสัมผัสของนิ้วมือให้เป็นเสมือนตัวแทน และทำให้เกิดภาพขึ้นในสมอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็กเล็กๆ ซึ่งต้องเรียนรู้โดยการใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้า ดังนั้น ภาพของนิ้วมือ การใช้ประสาทสัมผัสจะติดอยู่ในสมอง ถึงแม้ว่าเราจะไม่ได้ใช้คิดคำนวณตัวเลขก็ตาม นักวิจัยยังค้นพบอีกว่า เด็กในวัย 8-13 ปี ที่ต้องแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ที่ซับซ้อน ระบบประสาทสัมผัสของนิ้วมือจะเกิดขึ้นอัตโนมัติ โดยที่เด็กๆ ไม่ได้ยกนิ้วมือขึ้นมาใช้ก็ตาม

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 15

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 15
วันพฤหัสบดี ที่ 28 เมษายน 2559 (ชดเชย)
เวลา 08.30 – 12.30 น.

เนื้อหาการเรียน
                อาจารย์สอนเรื่องการเชียนแผน โดยแจกแบบฟอร์มการเขียนให้แต่ละกลุ่ม และอธิบายแต่ละหัวข้อว่าต้องเขียนรายละเอียดลงไปอย่างไร
สาระการเรียนรู้ เขียน 4 หัวข้อ (ที่อยู่ในหนังสือ)
เนื้อหา คือ หัวข้อของกิจกรรม 5 วัน ที่จะจัดประสบการณ์ให้แก่เด็ก
 แนวคิด คือ เครื่องมือที่เด็กใช้เป็นเกณฑ์การติดสินในชีวิตประจำวัน
ประสบการณ์สำคัญ คือ สิ่งที่เด็กได้ทำ
                จากนั้นอาจารย์ให้ลองคิดกิจกรรมศิลปะ ของหน่วย(ยานพาหนะ) 3 กิจกรรม ให้บูรณาการเข้ากับวิชาคณิตศาสตร์
                หลังจากนั้น อาจารย์ได้ให้แต่ละกลุ่มออกมานำเสนอนิทานที่แต่งไว้ พร้อมกับให้คำแนะนำในจุดที่บกพร่อง เพื่อให้นำไปแก้ไขต่อไป
ทักษะ / ระดมความคิด
                -วางแผนคิดกิจกรรมกันในกลุ่ม
การนำไปประยุกต์ใช้
                สามารถนำสิ่งที่บกพร่องในเรื่องของนิทานไปปรับปรุงแก้ไขและนำไปใช้ได้อย่างถูกต้อง และสามารถคิด บูรณาการศิลปะให้เข้ากับเนื้อหาคณิตศาสตร์
การจัดการเรียนการสอน
                อาจารย์ให้คำแนะนำอย่างละเอียดในเรื่องต่างๆ เช่นนิทาน ตัวหนังสือควรขนาดเท่านี้ เนื้อเรื่องควรแก้ไขอย่างไร เพื่อให้สามารถนำไปบูรณาการกับวิชาคณิตศาสตร์ได้
วิเคราห์ตนเอง

                วันนี้เรียนอย่างมีความสุข และสนุกสนานมากคะ บรรยากาศไม่ตึงเครียดถึงแม้จะต้องเรียนเรื่องที่ยากอย่างแผนการสอน เพราะอาจารย์อธิบายและให้คำแนะนำอย่างละเอียด


บันทึกการเรียน ครั้งที่ 14

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 14
วันศุกร์ ที่ 22 เมษายน 2559
เวลา 08.30 – 12.30 น.
เนื้อหาที่เรียน
                วันนี้อาจารย์ได้ให้ทุกกลุ่มแต่งนิทานให้สอดคล้องกับหน่วย ที่แต่ละกลุ่มจะทำการสอน โดยอาจารย์ได้อธิบายรายละเอียดทีละกลุ่ม เพื่อให้นักศึกษาเกิดความเข้าใจในชิ้นงานที่ต้องทำ และสามารถนำความรู้เกี่ยวกับคณิตศาสตร์มาเชื่อมโยงกับเนื้อหาได้อย่างถูกต้อง โดยกลุ่มยานพาหนะ ได้แต่งนิทานเกี่ยวกับข้อควรระวังเกี่ยวกับยานพาหนะ และอาจารย์ยังได้ให้คำแนะนำ ข้อแก้ไขในแผนการสอนเรื่องประโยชน์ของยานพาหนะ โดยในตอนแรกกลุ่มยานพาหนะ จะสอนประโยชน์ของยานพาหนะ ในเรื่อง การเดินทาง การขนส่ง แต่อาจารย์เสริมเรื่อง ยานพาหนะ ทำให้เกิดอาชีพ เพิ่มขั้น เช่น รถเมล์ ก็มีอาชีพคนขับรถเมล์ และกระเป๋ารถเมล์ เป็นต้น
ทักษะ / การระดมความคิด
                -การเชื่อมโยงเนื้อหาการสอนให้เข้ากับสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
การประยุกต์ใช้
                สามารถแผนการสอน แต่ละหน่วย ทั้งของกลุ่มตนเอง ของเพื่อนไปใช้ได้ในอนาคต
การจัดการเรียนการสอน
                อาจารย์ใส่ใจรายละเอียดของนักศึกษา โดยไปให้คำแนะนำเกี่ยวกับการบูรณาการสอนคณิตศาสตร์ลงในเนื้อหาที่จะสอนแบบใกล้ชิด
วิเคราะห์ตนเอง

                พยายามคิดตามให้ทันตามสิ่งที่อาจารย์ พูด/แนะนำ

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 13

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 13
วันศุกร์ ที่ 15 เมษายน 2559
เวลา 08.30 – 12.30 น.


เทศกาลสงกรานต์

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 12

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 12
วันศุกร์ ที่ 8 เมษายน 2559
เวลา 08.30  - 12.30 น.


เทศกาลสงกรานต์

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 11

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 11
วัน ศุกร์ ที่ 1 เมษายน 2559
เวลา 08.30 – 12.30 น.
เนื้อหาที่เรียน
                ตอนเริ่มเรียน เพื่อนออกมานำเสนอบทความ ตัวอย่างการสอน และวิจัยที่เกี่ยวกับคณิตศาสตร์ จากนั้นแต่ละกลุ่มก็ออกมาสอนตามแผนการสอนของกลุ่มตนเอง โดยแผนที่ใช้สอนวันนี้ เป็นแผนของวันจนทร์ และวันอังคาร โดยมีกลุ่มการสอนตามหน่วย ดังนี้
1.หน่วยผัก
2.หน่วยผีเสื้อ
3.หน่วยผลไม้
4.หน่วยยานาพาหนะ
5.หน่วยตัวฉัน
ทักษะ / การระดมความคิด
                บทความความคณิตศาสตร์ ควรปลูกฝังคณิตศาสตร์ตั้งแต่เด็ก เริ่มจากกิจกรรมง่ายๆ เช่นขณะนั่งรถก็ฝึกให้เด็กบวก ลบ ป้ายทะเบียนรถ หรือ ไปซื้อของที่ซุปเปอร์มาร์เกต หรือที่ต่างๆ ให้เด็กฝึกคิดคำนวนราคาสินค้า
                ตัวอย่างการสอน เรื่อง เรขาคณิตใกล้ชิดตัวเรา โดยครูนำสิ่งของที่อยู่รอบๆตัวมาเป็นสื่อการเรียนรู้
                วิจัยเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ เรื่องสอนอย่างไรให้สนุก เป็นการสอนที่ใช้วิธีการง่ายๆ เพื่อนให้เด็กได้เล่นและเรียนรู้คณิตศาสตร์ไปพร้อมกัน
การประยุกต์ใช้
                สามารถนำไปใช้ในอนาคตได้ โดยดูจากการสอนของเพื่อน และคำติชม ของครู ว่าจุดไหนควรปรับปรุง จุดไหนดีแล้ว ก็สามารถนำไปใช้ได้
การจัดการเรียนการสอน
                อาจารย์ใส่ใจนักศึกษาทุกกลุ่ม ตั้งใจฟัง และคอยติชมอยู่เสมอ เพื่อให้นักศึกษาได้แก้ไขข้อบกพร่องของกลุ่มตนเอง เพื่อในอนคตจะได้นำไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
วิเคราะห์ตนเอง

                ทุกกลุ่มยังมีจุดที่ต้องแก้ไชตามคำแนะนำของอาจารย์


บันทึกการเรียน ครั้งที่ 10

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 10
วันศุกร์ ที่ 25 มีนาคม 2559
เวลา 08.30 – 12.30 น.
เนื้อหาที่เรียน
                ตอนเริ่มเรียน เพื่อนได้นำเสนอบทความ ตัวอย่างการสอน และวิจัย หลังจากนั้นอาจารย์ให้นั่งเป็นกลุ่มตามหน่วยที่จะสอน เพื่อช่วยกันระดมความคิด จัดทำแผนการสอน ให้สัมพันธ์กับสาระการเรียนรู้ทั้ง 6 อย่าง
                กลุ่มของหนูทำหน่วยยานพาหนะ
วันจันทร์ สอนเรื่อง ประเภทของยานพาหนะ
วันอังคาร สอนเรื่อง ลักษณะของยานพาหนะ
วันพุธ สอนเรื่อง การดูแลรักษายานพาหนะ
วันพฤหัสบดี สอนเรื่อง ประโยขน์ของยานพาหนะ
วันศุกร์ สอนเรื่อง ข้อควรระวังชองยานพาหนะ
ทักษะ / การระดมความคิด
-การระดมความคิด เชื่อมโยงกิจกรรมให้สอดคล้องกับสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
การประยุกต์ใช้
                สามารถนำไปใช้ได้ในอนาคต
การจัดการเรียนการสอน
                แม้อุปการณ์ในการเรียนการสอนไม่ค่อยพร้อม แต่อาจารย์พยายามสอน พยายามอธิบายให้เข้าใจถึงกระบวนการสอน
การวิเคราะห์ตนเอง

                วันนี้รู้สึกกดดัน เพราะต้องคิดแผนการเรียนการสอนของวันตนเอง ต้องทำให้เนื้อหาสอดคล้องกับสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์แต่อาจารย์ก็คอยช่วยเหลือให้คำแนะนำ