วันศุกร์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2559

สรุปบทความเกี่ยวกับคณิตศาสตร์

บทความ เด็กๆควรใช้นิ้วมือในการนับเลขหรือไม่

          เด็กส่วนใหญ่เรียนรู้การนับโดยการใช้นิ้ว แต่เมื่อเริ่มโตขึ้นการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์จะเป็นนามธรรมที่ยากขึ้น จึงทำให้การชูนิ้วมือขึ้นมานับกลายเป็นเรื่องหลายคนคิดว่ายุ่งยาก และซับซ้อน บางคนถือว่าเป็นเรื่องที่น่าอาย และดูเหมือนเป็นวิธีการคิดที่ไม่ฉลาดเท่าไหร่ 
          ศาสตราจารย์ท่านหนึ่ง จากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดได้เขียนเกี่ยวกับเรื่องประโยชน์ของการใช้นิ้วมือกับระบบประสาท ซึ่งส่งผลต่อการสร้างความคิดที่ก้าวไกลในเรื่องของคณิตศาสตร์
          จากผลการวิจัยพบว่า การที่ไม่ให้เด็กใช้นิ้วมือในการนับ ในขณะที่เด็กอยู่ในวัยที่สามารถจะนับได้ ทำให้สมองมีความล่าช้าทางคณิตศาสตร์ได้ นิ้วมือเป็นเหมือนเครื่องมือที่มองเห็นได้ การใช้ประโยชน์จากนิ้วมือได้ชัดเจนจากนักดนตรี หรือผู้ที่ใช้ความสามารถในการใช้นิ้วมือ ว่า ส่วนใหญ่มีความสามารถทางด้านคณิตศาสตร์สูงมากกว่าคนที่ไม่ได้เรียนรู้ทางด้านการเล่นเครื่องดนตรี
          ได้มีการพัฒนางานวิจัย พบว่าการมีพื้นฐานความคิด และความเข้าใจทางด้านคณิตศาสตร์ซึ่งเป็นภาพเข้าไปสู่สมองโดยการนับนิ้วมือจะช่วยทำให้เด็กๆ ง่ายต่อความเข้าใจทางด้านคณิตศาสตร์ และรักในวิชาคณิตศาสตร์เพิ่มมากขึ้นด้วย
         นักวิเคราะห์ทางสมอง ได้กล่าวว่า การใช้นิ้วมือในการนับเป็นการใช้ประสาทสัมผัสของนิ้วมือให้เป็นเสมือนตัวแทน และทำให้เกิดภาพขึ้นในสมอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็กเล็กๆ ซึ่งต้องเรียนรู้โดยการใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้า ดังนั้น ภาพของนิ้วมือ การใช้ประสาทสัมผัสจะติดอยู่ในสมอง ถึงแม้ว่าเราจะไม่ได้ใช้คิดคำนวณตัวเลขก็ตาม นักวิจัยยังค้นพบอีกว่า เด็กในวัย 8-13 ปี ที่ต้องแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ที่ซับซ้อน ระบบประสาทสัมผัสของนิ้วมือจะเกิดขึ้นอัตโนมัติ โดยที่เด็กๆ ไม่ได้ยกนิ้วมือขึ้นมาใช้ก็ตาม

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 15

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 15
วันพฤหัสบดี ที่ 28 เมษายน 2559 (ชดเชย)
เวลา 08.30 – 12.30 น.

เนื้อหาการเรียน
                อาจารย์สอนเรื่องการเชียนแผน โดยแจกแบบฟอร์มการเขียนให้แต่ละกลุ่ม และอธิบายแต่ละหัวข้อว่าต้องเขียนรายละเอียดลงไปอย่างไร
สาระการเรียนรู้ เขียน 4 หัวข้อ (ที่อยู่ในหนังสือ)
เนื้อหา คือ หัวข้อของกิจกรรม 5 วัน ที่จะจัดประสบการณ์ให้แก่เด็ก
 แนวคิด คือ เครื่องมือที่เด็กใช้เป็นเกณฑ์การติดสินในชีวิตประจำวัน
ประสบการณ์สำคัญ คือ สิ่งที่เด็กได้ทำ
                จากนั้นอาจารย์ให้ลองคิดกิจกรรมศิลปะ ของหน่วย(ยานพาหนะ) 3 กิจกรรม ให้บูรณาการเข้ากับวิชาคณิตศาสตร์
                หลังจากนั้น อาจารย์ได้ให้แต่ละกลุ่มออกมานำเสนอนิทานที่แต่งไว้ พร้อมกับให้คำแนะนำในจุดที่บกพร่อง เพื่อให้นำไปแก้ไขต่อไป
ทักษะ / ระดมความคิด
                -วางแผนคิดกิจกรรมกันในกลุ่ม
การนำไปประยุกต์ใช้
                สามารถนำสิ่งที่บกพร่องในเรื่องของนิทานไปปรับปรุงแก้ไขและนำไปใช้ได้อย่างถูกต้อง และสามารถคิด บูรณาการศิลปะให้เข้ากับเนื้อหาคณิตศาสตร์
การจัดการเรียนการสอน
                อาจารย์ให้คำแนะนำอย่างละเอียดในเรื่องต่างๆ เช่นนิทาน ตัวหนังสือควรขนาดเท่านี้ เนื้อเรื่องควรแก้ไขอย่างไร เพื่อให้สามารถนำไปบูรณาการกับวิชาคณิตศาสตร์ได้
วิเคราห์ตนเอง

                วันนี้เรียนอย่างมีความสุข และสนุกสนานมากคะ บรรยากาศไม่ตึงเครียดถึงแม้จะต้องเรียนเรื่องที่ยากอย่างแผนการสอน เพราะอาจารย์อธิบายและให้คำแนะนำอย่างละเอียด


บันทึกการเรียน ครั้งที่ 14

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 14
วันศุกร์ ที่ 22 เมษายน 2559
เวลา 08.30 – 12.30 น.
เนื้อหาที่เรียน
                วันนี้อาจารย์ได้ให้ทุกกลุ่มแต่งนิทานให้สอดคล้องกับหน่วย ที่แต่ละกลุ่มจะทำการสอน โดยอาจารย์ได้อธิบายรายละเอียดทีละกลุ่ม เพื่อให้นักศึกษาเกิดความเข้าใจในชิ้นงานที่ต้องทำ และสามารถนำความรู้เกี่ยวกับคณิตศาสตร์มาเชื่อมโยงกับเนื้อหาได้อย่างถูกต้อง โดยกลุ่มยานพาหนะ ได้แต่งนิทานเกี่ยวกับข้อควรระวังเกี่ยวกับยานพาหนะ และอาจารย์ยังได้ให้คำแนะนำ ข้อแก้ไขในแผนการสอนเรื่องประโยชน์ของยานพาหนะ โดยในตอนแรกกลุ่มยานพาหนะ จะสอนประโยชน์ของยานพาหนะ ในเรื่อง การเดินทาง การขนส่ง แต่อาจารย์เสริมเรื่อง ยานพาหนะ ทำให้เกิดอาชีพ เพิ่มขั้น เช่น รถเมล์ ก็มีอาชีพคนขับรถเมล์ และกระเป๋ารถเมล์ เป็นต้น
ทักษะ / การระดมความคิด
                -การเชื่อมโยงเนื้อหาการสอนให้เข้ากับสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
การประยุกต์ใช้
                สามารถแผนการสอน แต่ละหน่วย ทั้งของกลุ่มตนเอง ของเพื่อนไปใช้ได้ในอนาคต
การจัดการเรียนการสอน
                อาจารย์ใส่ใจรายละเอียดของนักศึกษา โดยไปให้คำแนะนำเกี่ยวกับการบูรณาการสอนคณิตศาสตร์ลงในเนื้อหาที่จะสอนแบบใกล้ชิด
วิเคราะห์ตนเอง

                พยายามคิดตามให้ทันตามสิ่งที่อาจารย์ พูด/แนะนำ

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 13

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 13
วันศุกร์ ที่ 15 เมษายน 2559
เวลา 08.30 – 12.30 น.


เทศกาลสงกรานต์

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 12

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 12
วันศุกร์ ที่ 8 เมษายน 2559
เวลา 08.30  - 12.30 น.


เทศกาลสงกรานต์

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 11

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 11
วัน ศุกร์ ที่ 1 เมษายน 2559
เวลา 08.30 – 12.30 น.
เนื้อหาที่เรียน
                ตอนเริ่มเรียน เพื่อนออกมานำเสนอบทความ ตัวอย่างการสอน และวิจัยที่เกี่ยวกับคณิตศาสตร์ จากนั้นแต่ละกลุ่มก็ออกมาสอนตามแผนการสอนของกลุ่มตนเอง โดยแผนที่ใช้สอนวันนี้ เป็นแผนของวันจนทร์ และวันอังคาร โดยมีกลุ่มการสอนตามหน่วย ดังนี้
1.หน่วยผัก
2.หน่วยผีเสื้อ
3.หน่วยผลไม้
4.หน่วยยานาพาหนะ
5.หน่วยตัวฉัน
ทักษะ / การระดมความคิด
                บทความความคณิตศาสตร์ ควรปลูกฝังคณิตศาสตร์ตั้งแต่เด็ก เริ่มจากกิจกรรมง่ายๆ เช่นขณะนั่งรถก็ฝึกให้เด็กบวก ลบ ป้ายทะเบียนรถ หรือ ไปซื้อของที่ซุปเปอร์มาร์เกต หรือที่ต่างๆ ให้เด็กฝึกคิดคำนวนราคาสินค้า
                ตัวอย่างการสอน เรื่อง เรขาคณิตใกล้ชิดตัวเรา โดยครูนำสิ่งของที่อยู่รอบๆตัวมาเป็นสื่อการเรียนรู้
                วิจัยเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ เรื่องสอนอย่างไรให้สนุก เป็นการสอนที่ใช้วิธีการง่ายๆ เพื่อนให้เด็กได้เล่นและเรียนรู้คณิตศาสตร์ไปพร้อมกัน
การประยุกต์ใช้
                สามารถนำไปใช้ในอนาคตได้ โดยดูจากการสอนของเพื่อน และคำติชม ของครู ว่าจุดไหนควรปรับปรุง จุดไหนดีแล้ว ก็สามารถนำไปใช้ได้
การจัดการเรียนการสอน
                อาจารย์ใส่ใจนักศึกษาทุกกลุ่ม ตั้งใจฟัง และคอยติชมอยู่เสมอ เพื่อให้นักศึกษาได้แก้ไขข้อบกพร่องของกลุ่มตนเอง เพื่อในอนคตจะได้นำไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
วิเคราะห์ตนเอง

                ทุกกลุ่มยังมีจุดที่ต้องแก้ไชตามคำแนะนำของอาจารย์


บันทึกการเรียน ครั้งที่ 10

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 10
วันศุกร์ ที่ 25 มีนาคม 2559
เวลา 08.30 – 12.30 น.
เนื้อหาที่เรียน
                ตอนเริ่มเรียน เพื่อนได้นำเสนอบทความ ตัวอย่างการสอน และวิจัย หลังจากนั้นอาจารย์ให้นั่งเป็นกลุ่มตามหน่วยที่จะสอน เพื่อช่วยกันระดมความคิด จัดทำแผนการสอน ให้สัมพันธ์กับสาระการเรียนรู้ทั้ง 6 อย่าง
                กลุ่มของหนูทำหน่วยยานพาหนะ
วันจันทร์ สอนเรื่อง ประเภทของยานพาหนะ
วันอังคาร สอนเรื่อง ลักษณะของยานพาหนะ
วันพุธ สอนเรื่อง การดูแลรักษายานพาหนะ
วันพฤหัสบดี สอนเรื่อง ประโยขน์ของยานพาหนะ
วันศุกร์ สอนเรื่อง ข้อควรระวังชองยานพาหนะ
ทักษะ / การระดมความคิด
-การระดมความคิด เชื่อมโยงกิจกรรมให้สอดคล้องกับสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
การประยุกต์ใช้
                สามารถนำไปใช้ได้ในอนาคต
การจัดการเรียนการสอน
                แม้อุปการณ์ในการเรียนการสอนไม่ค่อยพร้อม แต่อาจารย์พยายามสอน พยายามอธิบายให้เข้าใจถึงกระบวนการสอน
การวิเคราะห์ตนเอง

                วันนี้รู้สึกกดดัน เพราะต้องคิดแผนการเรียนการสอนของวันตนเอง ต้องทำให้เนื้อหาสอดคล้องกับสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์แต่อาจารย์ก็คอยช่วยเหลือให้คำแนะนำ

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 9

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 9
วันศุกร์ ที่ 18 มีนาคม 2559
เวลา 08.30 - 12.30 น.
เนื้อหาที่เรียน
                สรุปและรวบรวมองค์ความรู้ เกี่ยวกับเรื่องที่จะไปสอน โดยบูรณาการให้สอดคล้องกับวิชาคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย เช่น กลุ่มของหนูได้เรื่องยานพาหนะ ก็จะแบ่งเป็น
1.ประเภทของยานพาหนะ คือ ทางบก ทางน้ำ และทางอากาศ
2.ลักษณะของยานพาหนะ เช่น สี รูปทรง ของยานพาหนะ
3.การดูแลรักษายานพาหนะ เช่น การทำความสะอาดยานพาหนะ
4.ประโยชน์ของยานพาหนะ เฃ่น การขนส่ง การเดินทาง
5.ข้อควรระวัง เช่น ขับรถเร็วเกินไป จะทำให้เกิดอุบัติเหตุ
ทักษะ / ระดมความคิด
                -การคิดวิเคราะห์
การประยุกต์ใช้
                สามารถนำไปใช้ในอนาคต
การจัดการเรียนการสอน
                ห้องเรียนไม่พร้อม เนื่องจากจะทุบตึกเพื่อปรับปรุง
วิเคราะห์ตนเอง

                ไม่ค่อยมีสมาธิในการเรียน แต่พยายามบังคับตนเองให้ตั้งใจฟังที่อาจารย์พูด

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 8

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 8
วันศุกร์ ที่ 4 มีนาคม 2559
เวลา 08.30 – 12.30 น.
เนื้อหาที่เรียน
                ประดิษฐ์สื่อตารางเกมการศึกษาจากเศษวัสดุเหลือใช้ ซึ่งตารางที่ประดิษฐ์นี้สามารถนำมาใช้ได้หลายเกม เช่น เกมหมากฮอต เป็นต้น
อุปกรณ์ในการทำสื่อตาราง
1.กระดาษลัง
2.กระดาษเหลือใช้
3.ไม้บรรทัด
4.ดินสอ
5.คัตเตอร์
6.กาว
7.เทปใส
9.สติกเกอร์ใส

วิธีการทำ
                1.วางแผน ออกแบบให้สามารถใช้งาน แล้วพับเก็บได้ง่าย
                2.ตีตารางในการดาษเหลือใช้ โดยประมาณให้เหมาะสม
                3.นำกระดาษเหลือใช้ที่ตีตารางเรียบร้อยแล้ว มาวัดเทียบกับกระดาษลัง เพื่อตัดและติดลงกระดาษลัง
                4.นำเทปใสติดกระดาษลัง 2 ชิ้นเข้าด้วยกันก่อน
                5.ติดกระดาษเหลือใช้ที่ตีตารางเรียบร้อยแล้ว ลงบนกระดาษลังเมื่อสักครู่
                6.ติดสติกเกอร์เส้นสีดำ เพื่อให้ตารางดูได้อย่างชัดเจน
                7.ติดสติกเกอร์ใส เคลือบอีกหนึ่งชั้น
ทักษะ / ระดมความคิด
-การวางแผน การแก้ปัญหา
-การใช้วัสดุที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
การประยุกต์ใช้
                สามารถนำวัสดุเหลือใช้มาทำสื่อการสอน
การจัดการเรียนการสอน
                อาจารย์เตรียมวัสดุอุปกรณ์ให้ แต่การทำผลงานจะให้นักศึกษาคิด วางแผน ลงมือทำ และแก้ปัญหาเอง
วิเคราะห์ตนเอง

                สามารถวางแผนทำงานร่วมกับเพื่อนได้ดี

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 7

บันทึกครั้งที่ 7
วันพุธ ที่ 3 มีนาคม 2559



ศึกษาดูงานที่โรงเรียนอนุบาลพิบูลเวศม์

สื่อการเรียนรู้




















บันทึกการเรียน ครั้งที่ 6

บันทึกการเรียนครั้งที่ 6
วันศุกร์ ที่ 19 กุมภาพันธ์ 2559
เวลา 08.30 – 12.30 น.


วันนี้ไม่ได้ไปเรียนคะ เนื่องจากไม่สบาย

วันอาทิตย์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 5

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 5
วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2559

เนื้อหาที่เรียน

          อาจารย์ให้เล่นเกมส์คือ สร้างตาราง 2 ตาราง ตารางแรกมี 20 ช่อง ตารางที่ 2 มี 40 ช่อง แล้วให้แรเงาให้เป็นรูปทรงต่างๆ โดยตารางแรกแต่รูปทรงที่แรเงาคือ 2 ช่อง ตารางที่ 2 3ช่อง แล้วอาจารย์ก็ถามว่าเกมส์นี้เหมาะสมกับเด็กปฐมวัยหรือไม่ เพราะอะไร เพื่อนๆในห้องก็ตอบแตกต่างกันออกไป ทั้งคิดว่าเหมาะสม และไม่เหมาะสม อาจารย์จึงอธิบายต่อว่า เกมส์นี้ไม่เหมาะสมกับเด็กปฐมวัย เพราะยังนึกภาพไม่ออก แต่เราสามารถประยุกต์ให้เหมาะสมกับเด็กปฐมวัยได้ โดยให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติเอง ให้เด็กได้ลองผิด ลองถูก โดยให้เด็กลองต่อก่อนที่จะวาดลงกระดาษ เมื่อเด็กวาดได้แล้วก็ให้ลองมองในมุมใหม่
          การเล่นของเด็กคือการเรียนรู้ การเรียนรู้คือการที่เด็กเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมต่อสิ่งนั้นแล้ว และการเล่นที่ทำให้เด็กมีความสุขมากที่สุดคือการเล่นอย่างอิสระ
          หลังจากนั้นเพื่อนได้นำเสนอบทความคณิตศาสตร์เกี่ยวกับเด็กปฐมวัย และตัวอย่างสื่อคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย และฉันได้นำเสนอวิจัยคณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับเด็กปฐมวัยค่ะ
          เมื่อนำเสนอเสร็จแล้ว อาจารย์ได้ให้ดูคลิปวิดิโอ การสอนแบบโครงการของโรงเรียนเกษมพิทยา โดยการสอนแบบโครงการ มีการสอดแทรกการสอนเนื้อหาคณิตศาสตร์ เรื่อง รูปทรง มิติสัมพันธ์ การเรียงลำดับขั้นตอน(ขั้นตอนการประดิษฐ์บ้านเห็ด,ขั้นตอนการจัดแสดง) การจัดพื้นที่ การจัดหมวดหมู่ การวัด ราคา(ไปซื้อของนอกสถานที่) น้ำหนัก และอินเตอร์เซคชั่น

บรรยากาศในห้องเรียน
    
          เครื่องปรับอากาศหนาวมาก ตอนตอบคำถาม เพื่อนๆพยายามคิดหาคำตอบตามอาจารย์และช่วยกันตอบค่ะ

การจัดการเรียนการสอน

          อาจารย์สอนให้เราลงมือทำ เพื่อให้เห็นภาพจริง และยังมีสื่อตัวอย่างการสอนมาให้ดู และอธิบายว่ามีเนื้อหาเกี่ยวกับคณิตศาสตร์สอดแทรกอยู่ตรงไหนบ้าง ซึ่งบางทีหากเราดูแบบผ่านๆไม่มองแล้วคิดตามก็จะนึกไม่ออกเลยค่ะ ว่ามีสาระสำคัญแทรกอยู่

ประเมินตนเอง

          ตั้งใจฟัง พยายามคิดตามที่อาจารย์พูด เตรียมตัวมานำเสนองานวิจัยที่หาข้อมูลมาค่ะ

วันจันทร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 4

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 4
วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2559

เนื้อหาที่เรียน
           - วันนี้อาจารย์ได้นำตัวอย่างปฏิทินที่ใช้สำหรับเด็กปฐมวัยมาให้ดู และให้พวกเราช่วยกันวิเคราะห์ว่า ปฎิทินนี้สอนเรื่องใดกับเด็กบ้าง และควรแก้ตรงไหน
           - อาจารย์ได้ให้นักศึกษาช่วยกันระดมความคิดว่า นอกจากป้ายชื่อที่อาจารย์ให้ทำจะนำไปแบ่งเวลาการตื่นของเด็ก และการมาเรียนของเด็กแล้ว ป้ายชื่อยังสามารถทำอะไรได้อีกบ้าง ป้ายชื่อสามารถนำไปแบ่งเวรประจำวัน และวันเกิดของเด็กได้
          - อาจารย์สอนร้องเพลงเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ และให้พวกเราหัดปรับเปลี่ยนเพลงเอง โดยเนื้อหาในเพลงจะสอนเด็กเกี่ยวกับการเพิ่ม-ลด จำนวน
          - อาจารย์ได้ให้นำเสนอของเล่นเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ที่แต่ละกลุ่มเตรียมมา

บรรยากาศในห้องเรียน
          เครื่องปรับอากาศหนาวมา ตอนที่นำเสนอของเล่นเพื่อนๆต่างก็เตรียมข้อมูล ข้อดี-ข้อเสีย ของงานตัวเองมาอย่างดีค่ะ

การจัดการเรียนการสอน
          อาจารย์มีการนำตัวอย่างมาให้ดู ทำให้เห็นภาพและเข้าใจง่าย และตอนที่นำเสนอของเล่นอาจารย์ยังคอยแนะนำว่าตรงไหนควรปรับปรุงอย่างไร

ประเมินตนเอง
         คิดตามคำถามที่อาจารย์ถาม และพยายามจดตามที่อาจารย์สอนค่ะ ตอนที่ร้องเพลงก็สนุกค่ะ ส่วนตอนที่นำเสนองานก็พยายามหาข้อดี-ข้อเสียของของเล่นมาอย่างเต็มที่ค่ะ

บันทึกการเรียน

บันทึกการเรียน (เรียนชดเชย)
วันพุธ ที่ 3 กุมภาพันธ์ 2559

เนื้อหาที่เรียน
          - วันนี้อาจารย์ให้ทำกิจกรรมคือ เช็คว่าใครตื่นนอนเวลา ก่อน 07.00น. , 07.00น. และ หลัง 07.00น. แล้วให้เอาป้ายชื่อของตัวเองไปแปะลงในช่องเวลาที่ตนเองตื่น
          - การนำไปประยุกต์กิจกรรมนี้เพื่อใช้กับเด็กปฐมวัย จะทำให้เด็กได้ความรู้คณิตศาสตร์ในเรื่อง
1.การนับ
2.การบอกจำนวน
3.การเขียนตัวเลขฮินดูอารบิก แต่ถ้าเด็กยังเล็กไม่สามาถเขียนตัวเลขด้วยตนเองได้ ครูอาจต้องทำป้ายตัวเลข เพื่อให้เด็กเอามาแปะ
          - การจัดกิจกรรมใดๆ จะต้องคำนึงถึงพัฒนาการของเด็ก
          - การลงมือปฎิบัติด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5 คือ วิธีการเรียนรู้ของเด็ก
          - กิจกรรมที่สอดคล้องกับชีวิตประจำวันจะทำให้เด็กเกิดความรู้ใหม่

บรรยากาศในห้องเรียน
          เครื่องปรับอากาศหนาวมาก อาจารย์สอนสนุก เพื่อนๆตั้งใจตอบคำถามกันดีค่ะ

การจัดการเรียนการสอน
          อาจารย์จัดกิจกรรมการเรียนการสอน ทำให้พวกเราเข้าใจและเห็นภาพยิ่งขึ้นค่ะ

วิเคราะห์ตนเอง
          พยายามคิดตามที่อาจารย์สอน และพยายามตอบคำถามของอาจารย์ค่ะ

วันจันทร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 3

บันทึกการเรียนครั้งที่ 3
วันที่ 29 มกราคม 2559

เนื้อหาที่เรียน

          วันนี้เริ่มเรียน อาจารย์ให้แบ่งกระดาษเป็น 2 ส่วน แล้วเขียนชื่อตัวเอง แล้วนำไปแปะบนกระดาน ใครที่มาให้แปะลงในช่องคนที่มาเรียน ซึ่งการทำเช่นนี้ สามารถนำไปประยุกต์สอนเด็กปฐมวัยได้ คือ เรื่อง การนับจำนวน (คนที่มาเรียน - คนที่ไม่มาเรียน) เรื่องการเขียนเลขฮินดูอารบิก การลบจำนวน เรื่องจำนวนที่มากกว่า น้อยกว่า (จำนวนคนที่มาเรียน - จำนวนคนที่ไม่มาเรียน) เรื่องลำดับ (คนที่มาก่อน - มาหลัง) ซึ่งเป็นการบูรณาการคณิตศาสตร์ที่มีอยู่ในชีวิตประจำวัน
          หลังจากนั้น เพื่อนได้ออกมาอ่านบทความของตนเอง ในบทความของเพื่อนพูดถึงเรื่องคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ซึ่งจะเน้นให้เด็กได้เรียนรู้จากการปฏิบัติจริง นำความรู้ไปเชื่อมโยงกับประสบการณ์เดิม และเน้นให้เด็กเรียนรู้จากธรรมชาติ
          ตัวอย่างสื่อคณิตศาสตร์ เป็นสื่อคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ตัวอย่างนี้คล้ายกับบทความ ในเรื่องของการสอน ซึ่งจะเน้นการจัดประสบการณ์ให้เด็กได้เห็นภาพจริง
          วิจัย ทักษะพื้นฐานการประกอบอาหาร นำมาบูรณาการในวิชาคณิตศาสตร์ที่สามารถนำไปสอนเด็กได้คือ ใส่วัตถุดิบลงไปในอาหาร กี่ถ้วยตวงหรือใส่ไข่ลงไปกี่ฟอง
          หลังจากที่เพื่อนนำเสนอบทความ ตัวอย่างสื่อการสอนคณิตศาสตร์ และวิจัยที่เกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์จบแล้ว อาจารย์ได้สอนร้องเพลง ซึ่งทุกๆเพลงที่อาจารย์สอน ล้วนเกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์ทั้งสิ้น

ยกตัวอย่างเช่นเพลง สวัสดียามเช้า เพลงนี้จะสอนเด็กเรื่องการเรียงลำดับ


บรรยากาศในห้องเรียน
          เพื่อนๆมีการเตรียมตัวที่จะนำเสนอดีค่ะ และทุกๆคนยังช่วยกันตอบคำถาม และร้องเพลงดีค่ะ

การจัดการเรียนการสอน
          อาจารย์สอนให้เห็นภาพจริงๆ ให้ลงมือทำจริงๆ จำได้รู้ว่าเวลาเอาไปใช้จริงควรจะทำอย่างไร

วิเคราห์ตนเอง
          ตั้งใจฟังอาจารย์ และตั้งใจฟังเพื่อนที่ออกมานำเสนอ ในระหว่างที่เพื่อนนำเสนอ ก็จดรายละเอียดไว้บ้างค่ะ