วันอาทิตย์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 5

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 5
วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2559

เนื้อหาที่เรียน

          อาจารย์ให้เล่นเกมส์คือ สร้างตาราง 2 ตาราง ตารางแรกมี 20 ช่อง ตารางที่ 2 มี 40 ช่อง แล้วให้แรเงาให้เป็นรูปทรงต่างๆ โดยตารางแรกแต่รูปทรงที่แรเงาคือ 2 ช่อง ตารางที่ 2 3ช่อง แล้วอาจารย์ก็ถามว่าเกมส์นี้เหมาะสมกับเด็กปฐมวัยหรือไม่ เพราะอะไร เพื่อนๆในห้องก็ตอบแตกต่างกันออกไป ทั้งคิดว่าเหมาะสม และไม่เหมาะสม อาจารย์จึงอธิบายต่อว่า เกมส์นี้ไม่เหมาะสมกับเด็กปฐมวัย เพราะยังนึกภาพไม่ออก แต่เราสามารถประยุกต์ให้เหมาะสมกับเด็กปฐมวัยได้ โดยให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติเอง ให้เด็กได้ลองผิด ลองถูก โดยให้เด็กลองต่อก่อนที่จะวาดลงกระดาษ เมื่อเด็กวาดได้แล้วก็ให้ลองมองในมุมใหม่
          การเล่นของเด็กคือการเรียนรู้ การเรียนรู้คือการที่เด็กเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมต่อสิ่งนั้นแล้ว และการเล่นที่ทำให้เด็กมีความสุขมากที่สุดคือการเล่นอย่างอิสระ
          หลังจากนั้นเพื่อนได้นำเสนอบทความคณิตศาสตร์เกี่ยวกับเด็กปฐมวัย และตัวอย่างสื่อคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย และฉันได้นำเสนอวิจัยคณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับเด็กปฐมวัยค่ะ
          เมื่อนำเสนอเสร็จแล้ว อาจารย์ได้ให้ดูคลิปวิดิโอ การสอนแบบโครงการของโรงเรียนเกษมพิทยา โดยการสอนแบบโครงการ มีการสอดแทรกการสอนเนื้อหาคณิตศาสตร์ เรื่อง รูปทรง มิติสัมพันธ์ การเรียงลำดับขั้นตอน(ขั้นตอนการประดิษฐ์บ้านเห็ด,ขั้นตอนการจัดแสดง) การจัดพื้นที่ การจัดหมวดหมู่ การวัด ราคา(ไปซื้อของนอกสถานที่) น้ำหนัก และอินเตอร์เซคชั่น

บรรยากาศในห้องเรียน
    
          เครื่องปรับอากาศหนาวมาก ตอนตอบคำถาม เพื่อนๆพยายามคิดหาคำตอบตามอาจารย์และช่วยกันตอบค่ะ

การจัดการเรียนการสอน

          อาจารย์สอนให้เราลงมือทำ เพื่อให้เห็นภาพจริง และยังมีสื่อตัวอย่างการสอนมาให้ดู และอธิบายว่ามีเนื้อหาเกี่ยวกับคณิตศาสตร์สอดแทรกอยู่ตรงไหนบ้าง ซึ่งบางทีหากเราดูแบบผ่านๆไม่มองแล้วคิดตามก็จะนึกไม่ออกเลยค่ะ ว่ามีสาระสำคัญแทรกอยู่

ประเมินตนเอง

          ตั้งใจฟัง พยายามคิดตามที่อาจารย์พูด เตรียมตัวมานำเสนองานวิจัยที่หาข้อมูลมาค่ะ

วันจันทร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 4

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 4
วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2559

เนื้อหาที่เรียน
           - วันนี้อาจารย์ได้นำตัวอย่างปฏิทินที่ใช้สำหรับเด็กปฐมวัยมาให้ดู และให้พวกเราช่วยกันวิเคราะห์ว่า ปฎิทินนี้สอนเรื่องใดกับเด็กบ้าง และควรแก้ตรงไหน
           - อาจารย์ได้ให้นักศึกษาช่วยกันระดมความคิดว่า นอกจากป้ายชื่อที่อาจารย์ให้ทำจะนำไปแบ่งเวลาการตื่นของเด็ก และการมาเรียนของเด็กแล้ว ป้ายชื่อยังสามารถทำอะไรได้อีกบ้าง ป้ายชื่อสามารถนำไปแบ่งเวรประจำวัน และวันเกิดของเด็กได้
          - อาจารย์สอนร้องเพลงเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ และให้พวกเราหัดปรับเปลี่ยนเพลงเอง โดยเนื้อหาในเพลงจะสอนเด็กเกี่ยวกับการเพิ่ม-ลด จำนวน
          - อาจารย์ได้ให้นำเสนอของเล่นเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ที่แต่ละกลุ่มเตรียมมา

บรรยากาศในห้องเรียน
          เครื่องปรับอากาศหนาวมา ตอนที่นำเสนอของเล่นเพื่อนๆต่างก็เตรียมข้อมูล ข้อดี-ข้อเสีย ของงานตัวเองมาอย่างดีค่ะ

การจัดการเรียนการสอน
          อาจารย์มีการนำตัวอย่างมาให้ดู ทำให้เห็นภาพและเข้าใจง่าย และตอนที่นำเสนอของเล่นอาจารย์ยังคอยแนะนำว่าตรงไหนควรปรับปรุงอย่างไร

ประเมินตนเอง
         คิดตามคำถามที่อาจารย์ถาม และพยายามจดตามที่อาจารย์สอนค่ะ ตอนที่ร้องเพลงก็สนุกค่ะ ส่วนตอนที่นำเสนองานก็พยายามหาข้อดี-ข้อเสียของของเล่นมาอย่างเต็มที่ค่ะ

บันทึกการเรียน

บันทึกการเรียน (เรียนชดเชย)
วันพุธ ที่ 3 กุมภาพันธ์ 2559

เนื้อหาที่เรียน
          - วันนี้อาจารย์ให้ทำกิจกรรมคือ เช็คว่าใครตื่นนอนเวลา ก่อน 07.00น. , 07.00น. และ หลัง 07.00น. แล้วให้เอาป้ายชื่อของตัวเองไปแปะลงในช่องเวลาที่ตนเองตื่น
          - การนำไปประยุกต์กิจกรรมนี้เพื่อใช้กับเด็กปฐมวัย จะทำให้เด็กได้ความรู้คณิตศาสตร์ในเรื่อง
1.การนับ
2.การบอกจำนวน
3.การเขียนตัวเลขฮินดูอารบิก แต่ถ้าเด็กยังเล็กไม่สามาถเขียนตัวเลขด้วยตนเองได้ ครูอาจต้องทำป้ายตัวเลข เพื่อให้เด็กเอามาแปะ
          - การจัดกิจกรรมใดๆ จะต้องคำนึงถึงพัฒนาการของเด็ก
          - การลงมือปฎิบัติด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5 คือ วิธีการเรียนรู้ของเด็ก
          - กิจกรรมที่สอดคล้องกับชีวิตประจำวันจะทำให้เด็กเกิดความรู้ใหม่

บรรยากาศในห้องเรียน
          เครื่องปรับอากาศหนาวมาก อาจารย์สอนสนุก เพื่อนๆตั้งใจตอบคำถามกันดีค่ะ

การจัดการเรียนการสอน
          อาจารย์จัดกิจกรรมการเรียนการสอน ทำให้พวกเราเข้าใจและเห็นภาพยิ่งขึ้นค่ะ

วิเคราะห์ตนเอง
          พยายามคิดตามที่อาจารย์สอน และพยายามตอบคำถามของอาจารย์ค่ะ

วันจันทร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 3

บันทึกการเรียนครั้งที่ 3
วันที่ 29 มกราคม 2559

เนื้อหาที่เรียน

          วันนี้เริ่มเรียน อาจารย์ให้แบ่งกระดาษเป็น 2 ส่วน แล้วเขียนชื่อตัวเอง แล้วนำไปแปะบนกระดาน ใครที่มาให้แปะลงในช่องคนที่มาเรียน ซึ่งการทำเช่นนี้ สามารถนำไปประยุกต์สอนเด็กปฐมวัยได้ คือ เรื่อง การนับจำนวน (คนที่มาเรียน - คนที่ไม่มาเรียน) เรื่องการเขียนเลขฮินดูอารบิก การลบจำนวน เรื่องจำนวนที่มากกว่า น้อยกว่า (จำนวนคนที่มาเรียน - จำนวนคนที่ไม่มาเรียน) เรื่องลำดับ (คนที่มาก่อน - มาหลัง) ซึ่งเป็นการบูรณาการคณิตศาสตร์ที่มีอยู่ในชีวิตประจำวัน
          หลังจากนั้น เพื่อนได้ออกมาอ่านบทความของตนเอง ในบทความของเพื่อนพูดถึงเรื่องคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ซึ่งจะเน้นให้เด็กได้เรียนรู้จากการปฏิบัติจริง นำความรู้ไปเชื่อมโยงกับประสบการณ์เดิม และเน้นให้เด็กเรียนรู้จากธรรมชาติ
          ตัวอย่างสื่อคณิตศาสตร์ เป็นสื่อคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ตัวอย่างนี้คล้ายกับบทความ ในเรื่องของการสอน ซึ่งจะเน้นการจัดประสบการณ์ให้เด็กได้เห็นภาพจริง
          วิจัย ทักษะพื้นฐานการประกอบอาหาร นำมาบูรณาการในวิชาคณิตศาสตร์ที่สามารถนำไปสอนเด็กได้คือ ใส่วัตถุดิบลงไปในอาหาร กี่ถ้วยตวงหรือใส่ไข่ลงไปกี่ฟอง
          หลังจากที่เพื่อนนำเสนอบทความ ตัวอย่างสื่อการสอนคณิตศาสตร์ และวิจัยที่เกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์จบแล้ว อาจารย์ได้สอนร้องเพลง ซึ่งทุกๆเพลงที่อาจารย์สอน ล้วนเกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์ทั้งสิ้น

ยกตัวอย่างเช่นเพลง สวัสดียามเช้า เพลงนี้จะสอนเด็กเรื่องการเรียงลำดับ


บรรยากาศในห้องเรียน
          เพื่อนๆมีการเตรียมตัวที่จะนำเสนอดีค่ะ และทุกๆคนยังช่วยกันตอบคำถาม และร้องเพลงดีค่ะ

การจัดการเรียนการสอน
          อาจารย์สอนให้เห็นภาพจริงๆ ให้ลงมือทำจริงๆ จำได้รู้ว่าเวลาเอาไปใช้จริงควรจะทำอย่างไร

วิเคราห์ตนเอง
          ตั้งใจฟังอาจารย์ และตั้งใจฟังเพื่อนที่ออกมานำเสนอ ในระหว่างที่เพื่อนนำเสนอ ก็จดรายละเอียดไว้บ้างค่ะ