วันเสาร์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 2

บันทึกการเรียนครั้งที่ 2
วันที่ 15 มกราคม 2559


เนื้อหาที่เรียน

          เริ่มเรียนอาจารย์ให้กระดาษมา แล้วให้นักศึกษาแจกกระดาษกันเอง โดยสอดแทรกเนื้อหา การสอนเด็กเรื่อง 1:1  และสอนเด็กในเรื่องการบวก การลบ และอาจารย์ยังยกตัวอย่างเพิ่มอีกว่า นอกจากวิธีการที่สามารถสอดแทรกในการแจกกระดาษแล้ว ยังสามารถสอดแทรกในกิจกรรมอะไรของเด็กได้บ้าง เช่น การดื่มนม อาจจะนำนมใส่ถังไว้ตามจำนวนคนของเด็ก ถ้านมเหลือ เด็กจะรู้ว่ามีเพื่อนที่ไม่มาเรียน
          หลังจากนั้นอาจารย์ให้ทำ mind map ในหัวข้อการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย โดยแบ่งเป็น 3 หัวข้อใหญ่ คือ การจัดประสบการณ์ คณิตศาสตร์ และเด็กปฐมวัย

บรรยากาศในห้องเรียน
          เพื่อนๆทุกคนเรียนแบบมีความสุข ช่วยกันตอบคำถามของอาจารย์ แต่เครื่องปรับอากาศหนาวมากค่ะ

การจัดการเรียนการสอน
          อาจารย์มีการสอดแทรกเนื้อหาการสอนในกิจกรรมที่ให้นักศึกษาทำ  และมีการถามโดยให้นักศึกษาระดมความคิดกัน ทำให้จำและนึกภาพได้มากขึ้นค่ะ

วิเคราะห์ตนเอง
          ตั้งใจฟังอาจารย์ และตั้งใจทำงานที่อาจารย์สั่ง โดยตลอดการเรียนพยายามคิดตามที่อาจารย์พูดโดยไม่มีความกดดัน หรือตึงเครียดค่ะ
   

วันศุกร์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2559

สรุปงานวิจัยคณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับเด็กปฐมวัย

วิจัย การส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กผฐมวัยโดยผู้ปกครองผ่านชุดกิจกรรม สนุกกับลูกรัก
ผู้วิจัย     บุษยมาศ ผึ้งหลวง เสนอต่อบัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปี พ.ศ. 2556

ใช้กลุ่มตัวอย่างจาก เด็กปฐมวัย อายุ 4-5 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาล 1 โรงเรียนวัดผึ่งแดด (บุญสืบวิชชนูอุปถัมภ์) โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง 1 ห้อง (20คน) และผู้ปกครองของกลุ่มที่ศึกษา

ระยะเวลาที่ใช้ในการทดลอง ทดลอง 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน ( จันทร์ พุธ ศุกร์) วันละ 45 นาที รวมทั้งหมด 24 ครั้ง

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
1.ชุดกิจกรรมสนุกกับลูกรัก
2.แบบทดสอบเชิงปฏิบัติทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยแบบทดสอบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์มีทั้งหมด 4 ด้าน คือ ด้านการจัดหมวดหมู่ ด้านการเปรียบเทียบ ด้านการรู้ค่าจำนวน 1-10 และด้านการเรียงลำดับ
   
วิธีการดำเนินการทดลอง
1.ขอความร่วมมือจากผู้ปกครอง
2.ก่อนการทดลอง ทำการทดสอบทักษะทางคณิตศาสตร์กับกลุ่มตัวอย่าง
3.เชิญผู้ปกครองเข้าปฐมนิเทศเพื่อรับทราบเกี่ยวกับขั้นตอนการดำเนินกิจกรรม
4.มอบหมายชุดกิจกรรมสนุกกับลูกรัก ให้ผู้ปกครงและเด็กได้ไปทำกิจกรรมร่วมกันที่บ้าน ในวัน จันทร์ วันพุธ และวันศุกร์ และให้ผู้ปกครองนำชุดกิจกรรมมาส่งผู้ทำวิจัยในวันรุ่งขึ้น
5.ดำเนินการทดลอง โดยใช้เวลา 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 45 นาที
6.เมื่อครบ 8 สัปดาห์ ให้กลุ่มตัวอย่างทำการทดสอบทักษะทางคณิตศาสตร์
7.นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ตามวิธีการทางสถิติเพือสรุปผลวิจัย

สรุปผลการวิจัย
1.ระดับทักษะพื้นฐานทางคณิศาสตร์ของเด็กปฐมวัยหลังได้รับการเสริมทักษะอยู่ในระดับดี
2.ระดับทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยหลังได้รับการเสริมทักษะมีทักษะทางคณิตศาสตร์โดยรวมและจำแนกรายทักษะสูงขึ้นกว่าก่อนการทดลอง

วันอาทิตย์ที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 1

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 1
วันที่ 8 มกราคม 2559

เนื้อหาที่เรียน

          อาจารย์ให้นักศึกษาแบ่งกระดาษ 1 แผ่นให้เป็น 3 ส่วน และให้นักศึกษาเขียนลักษณะเด่นของตัวเอง ที่จะทำให้อาจารย์จำได้ หลังจากนั้นอาจารย์ได้อ่านลักษณะเด่นของแต่ละคนที่เขียนลงในกระดาษ แล้วสังเกตว่าเป็นนักศึกษาคนไหน โดยอาจารย์ได้สอนว่าการเป็นครูปฐมวัยต้องจำเด็กได้ทุกคน
          เมื่อเสร็จกิจกรรมที่บอกลักษณะเด่นของตนเอง อาจารย์ก็ได้ตั้งคำถามโดยให้นักศึกษาช่วยกันตอบว่า นอกจากแบ่งกระดาษแล้วนับ 1-3 แล้ว มีวิธีอื่นอีกหรือไม่ ที่จะแบ่งกระดาษให้ได้ 3 ส่วนโดยใช้เวลาให้น้อยที่สุด และอาจารย์ได้เชื่อมโยงว่า การที่อาจารย์ให้นักศึกษาแบ่งกระดาษนั้น สามารถนำไปสอนเด็กปฐมวัยได้ ในเรื่องการ บวก ลบ ระหว่างจำนวนคนกับจำนวนกระดาษ
          มอบหมายให้ทำ blog โดยอาจารย์ได้อธิบายว่า ใน blog จะต้องมีรายละเอียดอะไรบ้าง โดยจะต้องใส่เนื้อหาบันทึกการเรียนทุกสัปดาห์ และได้มอบหมายงานนำเสนอให้นักศึกษาทุกคนค่ะ

บรรยากาศในห้องเรียน
          ไม่มีความกดดัน หรือตึงเครียด เพื่อนๆในห้องสนุกสนานกับการเรียน

การจัดการเรียนการสอน
          มีการสอดแทรกเนื้อหาในกิจกรรมทำให้เข้าใจได้รวดเร็วมากยิ่งขึ้น

วิเคราะห์ตนเอง
          ตั้งใจเรียนดี พยายามคิดตอบคำถามของอาจารย์ มีคุยหรือปรึกษาเพื่อนข้างๆบ้างค่ะ